วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความวิจัย

                    การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยความสามารถในการคำนวณรูปเรขาคณิต
                        กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5
                       ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม
                               The Development of a Geometric Figure Calculation Diagnostic 
                           Test  in the Mathematics  Learning  Area  for Prathom Suksa V 
                           Students in Schools  under the offices   of  Nakhon Pathom  
                           Educational  Service Area

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)  การสร้างแบบสอบวินิจฉัยความสามารถในการคำนวณรูปเรขาคณิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  2)  ตรวจสอบคุณภาพแบบสอบวินิจฉัยความสามารถในการคำนวณรูปเรขาคณิต 
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
นครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ปีการศึกษา 2553  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม 
เขต 1   จำนวน 625  คน   ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบวินิจฉัยความสามารถในการ
คำนวณรูปเรขาคณิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยนำแบบสอบไปทำการทดสอบกับกลุ่ม
ตัวอย่าง  ดังนี้  1) นำแบบสอบสำรวจไปทดสอบกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ปีการศึกษา 2553   สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1จำนวน140 คน เพื่อสำรวจความรู้พื้นฐานของนักเรียนข้อบกพร่องและรวบรวมคำตอบ
ผิด  2)  นำแบบสอบวินิจฉัยไปทดสอบครั้งที่ 1 กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   ปีการศึกษา 2553  สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1   จำนวน 230 คน  เพื่อหาคุณภาพรายข้อ  ด้านค่าความยาก  ค่าอำนาจจำแนก แล้ว
คัดเลือก และปรับปรุงข้อสอบ  3) นำแบบสอบวินิจฉัยไปทดลอบครั้งที่ 2  กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา
2553 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 255 คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบทั้งฉบับ  ค่า
สถิติพื้นฐาน  ค่าความเที่ยงของแบบทดสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติอ้างอิงได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน   ความตรง   ความเที่ยง   ความยาก    อำนาจจำแนก  
                ผลการวิจัยพบว่า  แบบสอบวินิจฉัยความสามารถในการคำนวณรูปเรขาคณิตที่สร้างขึ้นมีความตรงมีตามเนื้อหา 
มีความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 1.00  ประกอบด้วยแบบสอบ  3  ชุด  คือ ชุดที่ 1 ความสามารถในการคำนวณรูปสี่เหลี่ยม มีข้อสอบ 30  ข้อ ข้อสอบมีความยาก 0.60 -  0.98  มีอำนาจจำแนก 0.05 - 0.55  แบบสอบมีความเที่ยง  0.81 - 0.90  ชุดที่ 2  ความสามารถในการคำนวณรูปสามเหลี่ยม มีข้อสอบ 30  ข้อ ข้อสอบมีความยาก 0.60 -  1.00  มีอำนาจจำแนก 0.00 - 0.55  แบบสอบมีความเที่ยง  0.82 - 0.94   ชุดที่ 3 ความสามารถในการคำนวณรูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากมีข้อสอบ 15  ข้อ ข้อสอบมีความยาก 0.68 -  0.88  มีอำนาจจำแนก 0.23 - 0.45  แบบสอบมีความเที่ยง  0.90 - 0.97
บทนำ
           คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผลเป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์  วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ  2552 : 56) ดังนั้นกรมวิชาการได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์ จึงได้จัดให้คณิตศาสตร์เป็นวิชาพื้นฐานสำคัญอยู่ในกลุ่มทักษะ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างมีคุณภาพ และจะต้องมีความสมดุลระหว่างสาระทางด้านความรู้ ทักษะกระบวนการควบคู่ไปกับคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม ดังนี้  1)  มีความรู้ ความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐานเกี่ยวกับจำนวน และการดำเนินการ การวัด  เรขาคณิต  พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น พร้อมทั้งสามารถนำความรู้นั้นไปประยุกต์ได้ 2) มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น  ได้แก่  ความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่หลากหลาย  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ  การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ   3)  มีความสามารถในการทำงานอย่างเป็นระบบ มีระเบียบวินัย  มีความรอบคอบ  มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ มีความเชื่อมั่นในตนเอง พร้อมทั้งตระหนักในคุณค่าและเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ (กรมวิชาการ 2545 : 1-3) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  ได้กำหนดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละชั้นปีไว้ สำหรับหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ได้กำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนไว้  6 สาระ ดังนี้  สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ  สาระที่ 2 การวัด  สาระที่ 3 เรขาคณิต  สาระที่ 4 พีชคณิต    สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์(กระทรวงศึกษาธิการ2552 : 56- 57) สำหรับในด้านความสามารถในการคำนวณรูปเรขาคณิตมีกำหนดไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สาระที่2 ไว้ว่าการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมุ่งให้ผู้เรียนสามารถใช้ความสามารถในการคำนวณเพื่อการแสวงหาความรู้และเชื่อมโยงความรู้อย่างเป็นระบบโดยเฉพาะความสามารถในการคำนวณรูปเรขาคณิตในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  กำหนดให้ผู้เรียนสามารถคำนวณหาพื้นที่ หาความยาวของเส้นรอบรูป หาขนาดของมุมภายในและหาปริมาตรหรือความจุของรูปสี่เหลี่ยม  รูปสามเหลี่ยม รูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากได้ ดังนั้นความสามารถในการคำนวณรูปเรขาคณิตจึงมีความสำคัญต่อการเรียนในสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้อื่นๆรวมทั้งการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ต่อไป
             แต่จากการศึกษาสภาพการเรียนในอดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่าการเรียนคณิตศาสตร์ยังไม่บรรลุตามจุดประสงค์เท่าที่ควร ผลการทดสอบความสามารถทั่วไปในด้านการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ซึ่งวัดสมรรถภาพสำคัญ 3 ประการคือ การมีทักษะในการคิดคำนวณ  การมีความคิดรวบยอดทางด้านคณิตศาสตร์ และการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  (พรสวรรค์  ศรีสุเทพ 2540 : 1) ดังจะเห็นได้จากรายงานผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (LAS)ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โดยดำเนินการทดสอบนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทั้งเขตพื้นที่การศึกษานครปฐมผลการทดสอบวิชาคณิตศาสตร์ในเรื่องการคิดคำนวณรูปเรขาคณิตซึ่งปรากฏว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำทั้งเขตพื้นที่การศึกษานครปฐมโดยมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงร้อยละ 60  และสาเหตุที่ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำนี้อาจเนื่องมาจากการคำนวณรูปเรขาคณิตเป็นเรื่องที่ยากประกอบกับวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความซับซ้อนในเชิงความคิดและมีลักษณะนามธรรม ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นักเรียนไม่เข้าใจในหลักการ และวิธีการทางคณิตศาสตร์ ทำให้เกิดข้อบกพร่องในการคิดคำนวณ  ซึ่งถ้าหากผู้สอนทราบถึงส่วนที่ยังบกพร่องและสอนซ่อมเสริมให้ ก็จะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงนับว่าแบบทดสอบวินิจฉัย จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในการค้นหาจุดบกพร่องหรือที่เป็นปัญหาของนักเรียนแต่ละคนแบบทดสอบวินิจฉัยจะสามารถวิเคราะห์จุดบกพร่องในการเรียนของนักเรียนได้อย่างละเอียดมากกว่าแบบสอบชนิดอื่นช่วยให้ครูผู้สอนทราบองค์ประกอบของเนื้อหาวิชา ตลอดจนข้อบกพร่องของกระบวนการนั้น ประหยัดเวลาและแรงงานครู จึงทำให้ครูมีเวลาที่จะเอาใจใส่ดูแลนักเรียนแต่ละคนได้มากขึ้น
                จากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยความสามารถในการคำนวณรูปเรขาคณิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  เพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาความบกพร่องทางการเรียนของนักเรียนในการคำนวณรูปเรขาคณิตกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็นรายบุคคลทั้งนี้ครูผู้สอนจะได้นำแบบสอบที่สร้างขึ้นไปตรวจสอบความรู้และข้อบกพร่อง พร้องทั้งวินิจฉัยสาเหตุของความไม่แน่ใจของนักเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละบุคคลพร้อมทั้งปรับปรุงการเรียนการสอน และสอนซ่อมเสริมให้นักเรียนมีความรู้พื้นฐานที่ถูกต้อง อันเป็นประโยชน์ในการเรียนเนื้อหาอื่นๆชั้นสูงต่อไป

วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อสร้างแบบสอบวินิจฉัยความสามารถในการคำนวณรูปเรขาคณิตกลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม
            2. เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบสอบวินิจฉัยความสามารถในการคำนวณรูปเรขาคณิตกลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม
วิธีดำเนินการวิจัย
              การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา  มีวิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้
1.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                            ประชากร  ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ปีการศึกษา 2553  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม  จาก 284 โรงเรียน  มีจำนวนนักเรียน 8 ,459   คน
                      กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ปีการศึกษา 2553 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม  เขต 1 จำนวน 625 คนซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำแนกตามขนาดโรงเรียน จำนวน16 โรงเรียน   จำนวนนักเรียน 625  คน  
2.  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย   ประกอบด้วยแบบสอบ  จำนวน 2  ชุด  คือ
      ชุดที่ 1  แบบสอบเพื่อสำรวจ   ลักษณะของแบบสอบเป็นแบบสอบเติมคำ  แบ่งเป็น 3  ฉบับ คือ
                   แบบสอบฉบับที่ 1   ความสามารถในการคำนวณรูปเรขาคณิตเรื่องรูปสี่เหลี่ยม     
                   แบบสอบฉบับที่ 2   ความสามารถในการคำนวณรูปเรขาคณิตเรื่องรูปสามเหลี่ยม 
                   แบบสอบฉบับที่ 3   ความสามารถในการคำนวณรูปเรขาคณิตเรื่องรูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
     เพื่อใช้สำรวจคำตอบผิดของนักเรียนแล้วนำมาสร้างเป็นตัวลวงของแบบสอบวินิจฉัย    
     ชุดที่ 2  แบบสอบวินิจฉัยความสามารถในการคำนวณรูปเรขาคณิต
                  ประกอบด้วยข้อสอบปรนัยเป็นแบบสอบเลือกตอบ 4  ตัวเลือก  เพื่อใช้สำหรับค้นหาข้อบกพร่องในการคำนวณรูปเรขาคณิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  แบ่งเป็น 3 ฉบับ คือ
                 แบบสอบฉบับที่ 1   ความสามารถในการคำนวณรูปเรขาคณิตเรื่องรูปสี่เหลี่ยม 
                 แบบสอบฉบับที่ 2   ความสามารถในการคำนวณรูปเรขาคณิตเรื่องรูปสามเหลี่ยม
                 แบบสอบฉบับที่ 3   ความสามารถในการคำนวณรูปเรขาคณิตเรื่องรูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
3.  การเก็บรวบรวมข้อมูล
      ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการนำแบบสอบไปทำการทดสอบกับ
กลุ่มตัวอย่าง  ดังนี้
       1) นำแบบสอบสำรวจไปทดสอบกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ปีการศึกษา 2553   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1  จำนวน 140  คน  เพื่อสำรวจความรู้พื้นฐานของนักเรียน  ข้อบกพร่องและรวบรวมคำตอบผิด   
2)  นำแบบสอบวินิจฉัยไปทดสอบครั้งที่ 1 กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ปีการศึกษา 2553  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1  จำนวน 230 คน  เพื่อหาคุณภาพรายข้อ  ด้านค่าความยาก  ค่าอำนาจจำแนก แล้วคัดเลือก และปรับปรุงข้อสอบ  3) นำแบบสอบวินิจฉัยไปทดสอบครั้งที่ 2  กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2553
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 255 คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบทั้งฉบับ    
ค่าสถิติพื้นฐาน     ค่าความเที่ยงของแบบสอบ 
4.  การวิเคราะห์ข้อมูล   ใช้สถิติอ้างอิง  ได้แก่   ร้อยละ   ค่าเฉลี่ย     ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   ความตรง    
      ความเที่ยง   ความยาก    อำนาจจำแนก  
ผลการวิจัย     ( ยังทำไม่ถึงบทที่ 4 และบทที่ 5 ค่ะ)

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรมและภาคผนวก

1 ความคิดเห็น:

  1. Casinos Near Harrisburg - MapYRO
    Find 춘천 출장안마 Casinos Near Harrisburg, Harrisburg, Harrisburg, Harrisburg, 아산 출장샵 Visit the Casino 통영 출장마사지 at 제주도 출장마사지 Park Rd. for the best slots, table games, live 구리 출장마사지 entertainment and more!

    ตอบลบ